Youtubeข่าวโคราช

ข่าวเด่น

ข่าวโคราช

ลัมปี สกิน โคราช 13 อำเภอตาย 37 ตัว นักวิชาการแนะวิธีป้องกันรักษา

ลัมปี สกิน โคราช 13 อำเภอตาย 37 ตัว นักวิชาการแนะวิธีป้องกันรักษา

เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 10 มิ.ย.ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ บ้านโป่งแมลงวัน ต.โคกกรวด  อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบว่า เป็นพื้นที่ที่มีเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวประสบปัญหากับการระบาดของโรคลัมปีสกิน  ล่าสุด นาย สมพงษ์  ปาติตัง นักวิชาการเกษตรฟาร์มมหาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้พาทีมข่าวไปดูวัวที่ป่วยในพื้นที่ตรวจสอบ โดยมี เจ้าหน้าที่จากปศุสัตว์ลงพื้นที่ให้การรักษาวัวให้กับชาวบ้านด้วย

นายเชิด รอสูงเนิน อายุ67ปี  อยู่บ้านเลขที่84 บ้านโป่งแมลงวัน ม. 5 ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวในพื้นที่และเป็นเจ้าของโดยที่ล้มตาย เล่าว่าตนมีอาชีพเลี้ยงวัวมากว่า 30 ปี มีวัวทั้งหมด 60 กว่าตัว  ล่าสุดลูกวัวอายุประมาณ 3 เดือนที่ตนเลี้ยงได้ล้มตายด้วยโรคนี้จำนวน 1 ตัว ซึ่งตอนนี้ระบาดติดเกือบทั้งฝูงแล้ว  ซึ่งตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมาตนเองไม่เคยพบเห็นโรคที่เกิดขึ้นดังกล่าวมาก่อน จากการสังเกตอาการลูกวัวตัวที่ตายก่อนหน้านี้มีตุ่มขึ้นตามตัวเป็นจำนวนมาก จากนั้นเริ่มลุกลามติดตัวอื่นก่อนที่ลูกวัวจะล้มตายภายในเวลาไม่นาน ตนเองได้ฝังวัวที่ตายแลวยังไม่ได้รับการชดเชยใดๆ

ด้าน นาย สมพงษ์  ปาติตัง นักวิชาการเกษตรฟาร์มมหาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) เปิดว่า โรคลัมปี สกินเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกี่ยวกับเชื้อไวรัส แพร่เชื้อมาจากต่างประเทศ โดยมีพระนำโรคเป็นพวกแมลงดูดเลือดเช่น พวกเหลือบ เห็บ และแมลงวันดูดเลือด สำหรับอาการของโรคเมื่อวัวได้รับเชื้อในช่วงสัปดาห์แรกจะไม่แสดงอาการเห็นมาก อาจมีน้ำมูกน้ำลายไหล เริ่มไม่มีแรง และมีไข้ อุณหภูมิประมาณ 38-40 องศา เมื่อมีอาการเข้าระยะที่ 2 จะเกิดมีผื่นมีตุ่มขึ้นตามผิวหนังของวัว แต่วัวที่ติดเชื้อยังสามารถกินหญ้ากินน้ำได้ทำให้เกษตรกรคิดว่าไม่เป็นอะไรมาก แล้วจากนั้นจะมีอาการในระยะที่ 3 คือผื่นจะขึ้นเต็มตัวของวัวบางตัวจะมีตุ่มขึ้นที่ข้อและขาจนทำให้ขาบวมหรือบริเวณเหนียงของวัวจะมีอาการบวมเนื่องจากพิษของเชื้อไวรัส จนเข้าระยะที่ 4 ระยะสุดท้ายจะเกิดโรคแทรกซ้อนมีเชื้อแบคทีเรียลงปอด ทำให้ปอดอักเสบสำหรับบางตัวก็จะทนพิษบาดแผลไม่ไหวทำให้ล้มตายไปในที่สุด อัตราการตายในโลกนี้จะต่ำแต่หากรักษาไม่ถูกต้องวัวก็จะตาย 

ส่วนวิธีป้องกัน เกษตรกรสามารถทำได้เองโดยควบคุมโดยไม่ให้แมลงมากัดวันตัวที่ติดเชื้อเพื่อไม่ให้นำเชื้อไปติดตัวอื่น และการให้ยาถ่ายพยาธิทั้งภายในและภายนอกเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในตัววัว ซึ่งตัวยาตัวนี้จะเป็นพิษกับสัตว์แมลงดูดเลือดที่จะมาเป็นพาหะทำให้แมลงดูดเลือดไม่กัดวัวนำเชื้อโรคไปแพร่ยังฟาร์มอื่นๆ

ส่วนการรักษาวัวที่ติดเชื้อก็ต้องรักษาตามอาการ หากมีไข้ก็ต้องรักษาโดยให้ยาลดไข้ และให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อที่ป้องกันเชื้อโรคปอดพร้อมกับให้ยาบำรุงสำหรับตัวไหนที่เป็นผื่นจำนวนมากก็จะใช้ยาแก้แพ้ร่วมด้วย และอีกวิธีที่ใช้งบประมาณไม่มากสำหรับเกษตรกรคือการฉีดพ่นไล่แมลงที่จะเป็นพาหะ เพื่อการป้องกันและรักษาให้ถูกวิธีต่อไป

ด้าน นายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา ได้มีการประกาศเขตโรคระบาด ในทุกหมู่บ้านทุกตำบลทุกอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 64 เพื่อควบคุมโรคลัมปีสกิน โดยโรคนี้เป็นสาธารณภัย ตามระเบียบของทางราชการ เมื่อประกาศเป็นพื้นที่สาธารณภัยก็สามารถช่วยเหลือได้ตามระเบียบของทางราชการเหมือนกับภัยอื่นๆเช่นไปน้ำท่วมฝนแล้งวาตภัยอัคคีภัยสามารถให้ความช่วยเหลือได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง

 ทั้งนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงที่จะได้รับความช่วยเหลือจะต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์กลับทางปศุสัตว์ก่อนภัยเกิด หากมีสัตว์เลี้ยงตายจะต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นสัตวแพทย์ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต.หรือผู้นำในท้องถิ่น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปพิสูจน์ซากว่าตายด้วยโรคลัมปีสกินหรือไม่ แล้วต้องมีการถ่ายรูปประกอบมีการบันทึกผู้ใหญ่ข้างเคียง ให้เกิดความมั่นใจว่าตายด้วยโรคลัมปีสกิน จะเข้าหลักเกณฑ์ในการชดเชยเงินช่วยเหลือตามระเบียบทางราชการ.

 

 

อุบัติเหตุ-อาชญากรรม

ส่วนราชการ-อปท.

เทคโนโลยี-การศึกษา

เศรษฐกิจ-การเมือง

ท่องเที่ยว-กีฬา

สกู๊ป-คอลัมน์

Tag ข่าวโคราช

Tag ##ข่าวโคราช,โคราช,ข่าว,หนังสือพิมพ์ข่าวโคราช

คลิปเด็ด

 

         

         

          

         

Login Form

ผู้เข้าชม

1007506
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
32
266
414
1005794
414
6356
1007506

Your IP: 18.97.9.173
2024-12-03 02:43