Youtubeข่าวโคราช

ข่าวเด่น

ข่าวโคราช

(คลิป)นักวิจัยเตือน กินหมูดิบอาจเป็นโรคไข้หูดับอันตรายถึงชีวิต

นักวิจัยเตือน กินหมูดิบอาจถึงชีวิต

นักวิจัยมทส.เตือนโรคไข้หูดับ นอกกินหมูดิบ มีแผลไปสัมผัสเชื้อ กลุ่มผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำหากติดเชื้อถึงขั้นตายได้

 

จากกรณีที่มีอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง อายุ49ปี ในจังหวัดพิษณุโลก เสียชีวิตด้วยโรคไข้หูดับ จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า ได้มีการซื้อเนื้อหมู จากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง มาประกอบอาหารปิ้งย่างหมูกระทะ ร่วมกับเพื่อนๆ จำนวน 7 คน หลังซื้อเนื้อหมูมาทำหมูกระทะ และพบว่า ลงมือหั่นหมู ทั้งที่มือเป็นแผล กระทั่งเชื้อเข้าไปในกระแสเลือด เสียชีวิตในเวลา 23.58 น. ของวันที่ 15 มิ.ย. แพทย์สงสัยเป็น "โรคไข้หูดับ" จึงนำเลือดส่งตรวจ ผลยืนยันว่าเป็นโรค สเตรปโตคอคคัส ซูอิส หรือโรคไข้หูดับ ซึ่งผู้เสียชีวิต ได้มีการฌาปนกิจไปแล้วเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ผ่านมา

 

ด้านผศ.ดร.ณัธคพัชฬ รัตนพิทูลย์  นักวิจัย ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) เปิดเผยว่าเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ สเตรปโตคอคคัส ซูอิส หรือเชื้อไข้หูดับ เป็นเชื้อที่มีความอันตราย ซึ่งจากรายงานกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขในประเทศไทยมีผู้ได้รับการติดเชื้อป่วยเป็นโรคหูดับเป็นจำนวนร้อยกว่ารายต่อปี และมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้วจำนวน 9ราย ส่วนใหญ่พบผู้ป่วยที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับจังหวัดที่พบคือ จ.ลำปาง จ.อุตรดิตถ์ จ.พะเยา จ.นครราชสีมา และจ.พิจิตร

 

สำหรับเชื้อดังกล่าวติดต่อได้จากหมูที่ติดเชื้อ โดยเชื้อจะอยู่ในระบบทางเดินหายใจและหมูตัวที่ป่วยมากๆเชื้อก็จะอยู่ในเลือดและอวัยวะของหมู ดังนั้นผู้ป่วยสามารถติดเชื้อได้ 2 ทาง คือการกินหมูดิบ และเข้าทางบาดแผลจากการสัมผัสหมูหรือเนื้อหมูที่ติดเชื้อได้ ฉะนั้นแล้วจึงต้องระมัดระวังโดยการไม่กินหมูดิบและสำหรับผู้ที่มีบาดแผลควรจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการสัมผัสโดยตรงรายการสวมถุงมือ สำหรับการประกอบอาหาร ควรแยกเขียงสำหรับหั่นเนื้อหมูดิบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และควรปรุงอาหารให้สุกก่อนรับประทาน สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงหมูและผู้ประกอบอาชีพในการชำแหละเนื้อหมูขาย ก็ควรมีการสวมชุดป้องกันอย่างมิดชิด เช่นสวมรองเท้าบูท สวมถุงมือป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าทางบาดแผล สำหรับผู้บริโภคควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่ได้มาตรฐานรับรอง ไม่ควรนำหมูที่ป่วยตายมาบริโภค ในการสังเกตเนื้อหมู เบื้องต้นเลือกเนื้อหมูที่สีไม่คล้ำ กลิ่นไม่คาว แล้วชิ้นเนื้อหมูที่มีรอยช้ำมากๆก็ไม่ควรเลือกมาบริโภค

 

ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อของโรคไข้หูดับ จะมีระยะบ่มเพาะเชื้อ 1-5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มีอาการวิงเวียนศรีษะจนทรงตัวไม่ได้ อาจจะมีอาการ ท้องเสีย อาเจียน คอแข็ง และมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินหรือเรียกว่าหูดับหูดับอาจจะเกิดอาการหูดับแบบถาวร บางรายถึงขั้นเสียชีวิต เนื่องจากแบคทีเรียที่เข้าสู่ระบบเลือดเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนทำให้ผู้ป่วยช็อคและเสียชีวิตได้ หากผู้ที่กินหมูดิบหรือมีบาดแผลดแล้วได้สัมผัสหมู แล้วมีไข้สูง มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน ควรรีบไปพบแพทย์และแจ้งเกี่ยวกับการกินหมูดิบหรือสัมผัสหมูเพื่อการรักษาที่ทันท่วงที

 

 

ผศ.ดร.ณัธคพัชฬ  ได้กล่าวต่อว่า หมูดิบเป็นแหล่งรวมสารพัดโรคนอกจากอันตรายจากไข้หูดับ จากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส ซูอิสแล้ว ยังมีเชื้อจากปรสิต อย่างเช่นพยาธิตืดหมู และพยาธิตัวกลม ซึ่งจะพบมากในหมูป่าและยังมีการนิยมรับประทานมากในภาคเหนือ

 

นอกจากผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหรือชำแหละหมูขายที่ต้องระมัดระวังแล้ว กลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับโรคไข้หูดับ อีกกลุ่มคือผู้ดื่มสุราเรื้อรัง

และกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันสูง โรคไต ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เนื่องจากเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงหากติดเชื้อผู้ป่วยอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้.

อุบัติเหตุ-อาชญากรรม

ส่วนราชการ-อปท.

เทคโนโลยี-การศึกษา

เศรษฐกิจ-การเมือง

ท่องเที่ยว-กีฬา

สกู๊ป-คอลัมน์

Tag ข่าวโคราช

Tag ##ข่าวโคราช,โคราช,ข่าว,หนังสือพิมพ์ข่าวโคราช

คลิปเด็ด

 

         

         

          

         

Login Form

ผู้เข้าชม

1005370
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
110
262
1146
1002552
4634
7847
1005370

Your IP: 18.188.96.17
2024-11-21 06:40